จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

มีปีกก็หล่นไม่ไกลต้น

          เริ่มจากผมโพสต์ภาพ "หมากกุง" ลงหน้า facebook ราวต้นเดือนกันยายนนี้ (๒๕๕๔) เป็นภาพชุดที่คุณส้ม (ขออภัยจำชื่อจริงไม่ได้-จะเข้ามาแก้ไขภายหน้า) หนึ่งในสมาชิกจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือไม่ก็คุณดอส "อานันท์ ปั้นเก่า" มือกล้องมือดีของ กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) คนหนึ่ง บันทึกไว้เมื่อคราวเปิดค่าย "สานศิลป์-ปั้นดินดิบ" ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔

          แล้วก็มีผู้คนในแวดวงสังคมไอทีแสดงความคิดเห็น (Comment) อย่างกว้างขวาง ขยายวงขึ้นเรื่อยๆ
          ผู้ใช้นามว่า "ผาแดง สกลทวาปี" บอกว่า "หมากยาง" ผมจึงให้ข้อมูลภาพไปว่า "หมากยางนา หมากสะแบง จะลูกเรียวเล็กและปีกยาวกว่า "หมากกุง" หรือ "ลูกพลวง" ไม้วงศ์ยางนาชนิดหนึ่ง"
          ร. จิระโชติ เจ้าของนามปากกา “นกแสงตะวัน” บอกว่า “ชอบดอกยางค่ะ ปลิดตัวเองระเริงระบำไปกับสายลมเพื่อขยายเผ่าดำรงพันธุ์..แต่มักไปได้ไม่ไกล อาศัยมือน้อยๆของเด็กหยิบไปร้อยระบายหน้าต่าง ช่างงดงาม”

          นปุง สกลิงค์ เม้นท์ว่า “สวยจัง ขออนุญาตนำภาพนี้ไปเผยแพร่ต่อนะคะ”
          ผมตอบว่า “ได้ครับ ความจริงผมไม่ใช่คนถ่ายดอกครับ ได้เขียนบรรยายไว้ก่อนจะอัพโหลดภาพ แต่ไม่รู้มันหายไปไหน” และว่า “เห็นหมากผลของไม้พวกนี้แล้วผมว่าคิดว่าธรรมชาติคงอยากให้มันไปแพร่หลายขยายพันธุ์ได้ไกลๆ ต้นแม่ไม้ จึงใส่ปีกให้บินได้ แต่ถึงอย่างไรมันก็บินไม่ไปไกลต้นแม่สักเท่าไหร่ดอก ปรากฏการณ์นี้น่าจะเป็นปรัชญาเตือนคนว่าอย่าลืมกำพืดตัวเอง อย่าทิ้งรากเหง้าไปนิยมวัฒนธรรมผู้อื่นจนลืมและทิ้งวัฒนธรรมของตน”
          ส่วนละอ่อน ขอนแก่น บอกว่าชอบมากๆๆๆ
          ธนุส ธนะวิโรจน์ "อยากกลับไปร่วมพัฒนาอีสานบ้านเฮาจังเลยครับ"
          ส่วน Malinee Soidokmai แซวว่า “มีแต่ลูกยางเหลอ น้ำยางไม่มีบ้างเหลอป๋า”
แสดงว่าคำว่า “ยาง” นี่คงเข้าใจไม่เหมือนกัน ขณะที่หลายคนพูดถึงยางนา บางคนนึกถึงยางพารา


ภาพป่าพลวงยามรุ่งเช้าที่ค่ายบ้านดินตีนภู “ฐานที่มั่นคนกับควาย”


          ภาพนี้ คนโพสต์คือละอ่อน ขอนแก่น  ใช้ชื่อภาพว่า “ยางนายางกราดสะแบงพลวง”
          ผมจึงขยายความว่า “ยางนา ยางกราด สะแบง พลวง มันคนละต้น”
          ละอ่อน ขอนแก่น “จ้า”
          Tamonwan Pinta ชักมีข้อสงสัย “เอ...แล้วอันนี้เค้าเรียกว่าอะไรหละค่ะ คล้ายๆ เคยเห็นตามป่าแถวๆ บ้าน ถ้ามันร่วงลงมา ชอบเก็บเอาไปเล่น ไม่เคยเห็นบนต้นว่า มันเป็นสีแดง อม แสด ส้ม อย่างนี้ คล้ายกังหันลม ถ้าเอาโยนให้มันตกลงมา” และว่า “แต่เราว่าใบมันคล้ายๆ ใบตองตึงนะ สมัยเราเล็กๆ แม่ค้าขนมจีนเค้าใช้ห่อขนมจีนขายเป็นกิโล..”
          ละอ่อน ขอนแก่น “รอคุนลุงสมคิดมาตอบดีกว่านะคะ”
          สงสัยมาก คำว่า “คุณลุง” ของละอ่อน ขอนแก่น เขียนว่า “คุนลุง” ทุกครั้ง
          Tamonwan Pinta “ค่า”
          Somkhit Singsong “เคยตอบมาหนหนึ่ง น่าจะอยู่อีกอัลบั้ม ว่าใบตองตึงเป็นภาษาเหนือ อีสานเรียกใบตองกุง ไทกรุงเทพฯ ว่าใบพลวง เขาใช้ห่อข้าวของ ถูกต้องแล้ว เพราะใบพลวงไม่มีขน แต่ใบยางนา ใบสะแบง มีขนและใบเล็กกว่า..” ผมว่าเคยตอบในอัลบั้ม “มีปีกก็หล่นไม่ไกล”
          ละอ่อน ขอนแก่น ขอบคุนมากๆๆคะ
          นพดล โคตรชมภู “ทางนี้เรียกต้นซาดครับ”
          Tamonwan Pinta “ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ ได้ความรู้มากจัง หน้าจะรื้อฟื้นเอามาใช้กันอีกนะค่ะ ดีกว่าพพลาสติก ตั้งมาก”
แม่ ต๊อก “ไทโคราช..ก็เรียก ใบพลวง ค่ะ เด็ก ๆ เคยเห็นแม่ใหญ่ใช้ห่อข้าวให้ พ่อใหญ่ไปนา.”
          Kathi Mong-mong “ทุ่งนาที่บ้านเคยมีแต่ตัดแล้ว ไม่แน่ใจว่าต้นเล็กๆ เป็นต้นกราดหรือป่าว(บ้านเรียกต้นกราด)แบบว่าไม่ได้ไปนานแล้ว...”

ต้นยางนาขนาดวัยรุ่น จากอัลบั้มของละอ่อน ขอนแก่น

          เห็นไหมครับว่ามีความเห็นที่หลากหลายมาก โดยที่เริ่มจากภาพ “ลูกพลวง” จากฐานที่มั่นคนกับควาย แต่ละความคิดเห็นล้วนมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน และเป็นที่มาของวงสนทนาออนไลน์ของกลุ่ม “รักคนอ่าน-บ้านนักเขียน) ที่ face book เมื่อเช้านี้
          ละอ่อน ขอนแก่น “เสียดายเรื่องหมากไม้มันจะสูญหาย เด็กรุ่นใหม่ เค้าไม่เล่น ลูกยาง แล้ว เด็กในเมือง ไม่มีใครรู้จัก”
            สมคิด สิงสง “เอางี้ไหม ใครเจอหมากไรดอกไร เก็บสะสมไว้ แล้วนัดเอามาโฮมกัน ทำแหล่งเรียนรู้เรื่องนี้”
          บักวี สีวิดทะยาสาด “หมากแตก อย่าเอาเด้อ”
          สมคิด สิงสง “กะเป็นหมากไม้บ่ล่ะ ถ้าเป็นหมากไม้กะเอา.. หือสิเฮ็ดเป็นหนังสือหือ”
          ละอ่อน ขอนแก่น “หนูมีแต่ภาพแหล่วเนาะ ที่นาฯเหลืออยู่แค่สองต้น ไม่รู้จะโดนลักลอบตัดเอาไม้ไปวันไหนเลยคะ”
          สมคิด สิงสง “เป็นหนังสือภาพคือสิงาม”
          ละอ่อน ขอนแก่น “ถ้าอยากได้ภาพแบบใหญ่ๆ เยอะๆ ต้องภูพานคะคุนลุง ที่อ้ายเด่นชัย เคยเอามาลงน่ะคะ”
          สมคิด สิงสง “เรื่องเฮ็ดคือสิบ่ยาก อาจสิยากนำทุนพิมพ์”
          ละอ่อน ขอนแก่น “อิอิ”
          สมคิด สิงสง “เอ้อแม่น เด่นชัยเขามีกล้องดี แล้วก็หมั่นถ่ายฮูป”
          ละอ่อน ขอนแก่น “ต้นใหญ่ อายุสามร้อยปีคะ”
          สมคิด สิงสง “ต้นนั้นมันล้มแล้ว ภาพเด่นชัยถ่ายให้ นำลุงกะมี”

(ภาพต้นยางอายุ ๓๐๐ ปี ผมนำมาเป็นฉากหลังแบนเนอร์ชื้นหนึ่ง)

          ละอ่อน ขอนแก่น “คะ แต่เค้าเก็บรักษาไว้ ทำบ้านให้มันด้วย ไว้ดู เปนตาสะออนนำเด้”
          สมคิด สิงสง “เอ้อ คึดออกแล้ว ไผกะได้ ไปชวน รมต.ศึกษาฯ มาเข้ากลุ่มเฮานำแหน่เป็นหยัง สิได้ให้เขาออกเงินพิมพ์หนังสือหมู่นี่แจกโรงเรียน”
          ละอ่อน ขอนแก่น “บ่แมนสิได้ตีกันกับครูฟอน ก่อนซะบ้อ หนูว่า”
          สมคิด สิงสง “ให้ครูฟอนนั่นล่ะไปชวนมา" หมายถึงชวนเข้ากลุ่ม "รักคนอ่าน-บ้านนักเขียน"
          ละอ่อน ขอนแก่น “555” คือสิแม่นเสียงหัว
          สมคิด สิงสง “อยู่บ้านเฮากะมีบ่แม่นบ่ (รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ น่ะ) ให้ครูฟอนไปขู่ ถ้าบ่มาสิเอาควายมาเป็น รมต.แทน”
          ละอ่อน ขอนแก่น “5555” หัวอีก
          สมคิด สิงสง “ย้อนว่าควายได้เข้าโรงเรียนแล้ว เอาเนาะครูฟอนเนาะ” ตามนิยายของครูวีระ สุดสังข์ เรื่อง “โรงเรียนสอนควาย”
          ละอ่อน ขอนแก่น “เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต่อไปน้องปลายฝนก็จะไม่รู้จักพวกต้นไม้พวกนี้หรอก 555”

2 ความคิดเห็น:

  1. ยินดีค่ะ หน้าต่างนี้อ่านง่ายสบายตากว่า fb เยอะ

    ตอบลบ
  2. เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำเสนอความคิด ความเห็น สิ่งที่เป็นไป

    ตอบลบ